พ่อแม่และผู้ปกครองควรหมั่นสังเกตพฤติกรรมและพัฒนาการของลูกน้อยอย่างใกล้ชิด หากพบความผิดปกติ เช่น ทำอะไรเชื่องช้า ไม่ค่อยมีสมาธิ หรือ สมาธิสั้น ให้รีบทำการรักษาโดยด่วน แต่จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกสมาธิสั้น มาหาคำตอบไปพร้อมกันค่ะ
1. รู้จักโรค สมาธิสั้น
สมาธิสั้นADHD คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของสมองส่วนหน้า ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมสมาธิและพฤติกรรม พบว่ามีการทำงานลดลง ส่งผลให้มีสมาธิสั้นกว่าปกติ ขาดสมาธิ อยู่ไม่นิ่ง ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อการเรียน การทำงาน และการเข้าสังคมในอนาคตได้
สมาธิสั้นมักจะพบในเด็กที่มีอายุระหว่าง 3-7 ขวบ และมีโอกาสหายเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นประมาณ 20-30% สามารถใช้ชีวิตปกติได้โดยไม่ต้องใช้ยา แต่ส่วนใหญ่จะยังมีความบกพร่องในเรื่องของสมาธิอยู่ ส่งผลให้มีความล่าช้าต่อการทำงาน และการเข้าสังคมกับผู้อื่น จึงต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
2. สาเหตุของโรค สมาธิสั้น
ปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เกิดโรคสมาธิสั้น คือ ปัจจัยทางชีวภาพ ซึ่งได้แก่พันธุกรรม โรคนี้สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมและครอบครัวได้ถึงร้อยละ 70 ปัจจัยทางด้านประสาท ความผิดปกติของสมองส่วนหน้า โดยเฉพาะบริเวณที่เกี่ยวกับการคิด วางแผน การจัดลำดับ และการควบคุมตัวเอง และยังพบว่าในระหว่างที่ตั้งครรภ์หากแม่สูบบุหรี่ ดื่มสุรา หรือคลอดก่อนกำหนด มีน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่าปกติ ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เด็กสมาธิสั้นอีกด้วย
3. อาการของเด็กสมาธิสั้น
สมาธิสั้นจะแบ่งอาการออกเป็น 3 ด้านดังนี้
• พฤติกรรมการขาดสมาธิ คือ เหม่อลอย วอกแวกง่าย ทำอะไรนานๆไม่ได้ ขี้ลืม ไม่ค่อยมีความรอบคอบ
• พฤติกรรมสุขซนอยู่นิ่งไม่ได้ คือ จะต้องเคลื่อนไหวตลอดเวลา พูดเก่ง ชอบทำเสียงดัง เล่นกับเพื่อนแรงๆ เรามักจะเรียกเด็กกลุ่มนี้ว่าเด็กไฮเปอร์
• ขาดความยับยั้งชั่งใจในตัวเอง อาการของกลุ่มนี้มักจะใจร้อน วู่วาม ขาดความระมัดระวัง พูดแทรกผู้ใหญ่ รอคอยอะไรนานๆไม่ค่อยได้
4. การรักษาโรคสมาธิสั้นด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
• จำกัดการเล่นสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต
• ฝึกโยคะ นั่งสมาธิ
• ฝึกให้ทำอะไรนานๆต่อเนื่องประมาณ 20-30 นาที
• เข้าคอร์สเพิ่มสมาธิ เช่น เรียนศิลปะ เรียนดนตรี
• งดตามใจ ไม่ปล่อยปละละเลย จะช่วยไม่ให้ลูกดื้อ เอาแต่ใจตัวเองได้
• จัดตารางชีวิต ให้มีระเบียบวินัยในการใช้ชีวิตประจำวัน
5. การรักษาโรคสมาธิสั้นด้วยยา
• ยาที่ออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาท เป็นยาที่ใช้ในการรักษาโรคสมาธิสั้น แต่ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์
• ยาในกลุ่มที่ไม่ออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาท ใช้ในเด็กที่ไม่สามารถทนกับผลข้างเคียงของยากระตุ้นระบบประสาทได้
• ยากลุ่ม Alpha 2 agonist ใช้กับเด็กสมาธิสั้นที่มีโอกาสเป็นโรคกล้ามเนื้อกระตุก
• ยาต้านเศร้า ใช้กับเด็กที่อาจมีปัญหาซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน
อ่านบทความเพิ่มเติม
https://notjustaworkingmom.com/คุณแม่มือใหม่/
เครดิตภาพ